รวบรวมคำถามและคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ที่ถูกสอบถามเกี่ยวกับการแข่งขัน

Q: รับสมัครถึงวันที่เท่าไร

A: ขยายเวลารับสมัครถึง 31 กรกฏาคม 2565

Q: จำนวนสมาชิกในทีม

A: ต้องมีสมาชิกจำนวน 5 คน ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 10 คน

Q: ผลงานต้องออกมาในรูปแบบไหน

A: รอบคัดเลือกต้องส่งแนวคิดการออกแบบผลงานพร้อมภาพประกอบและ VDO นำเสนอผลงาน

Q: ใช้โปรแกรมอะไรในการทำ Simulation

A: โปรแกรมสำหรับทำ Simulation

  1. CoppeliaSim
  2. SIEMENS Tecnomatix Plant Simulation
  3. ABB Robot Studio
  4. Unity
  5. Unreal Engine
  6. ICONICS GENESIS64
  7. Blender

*โปรแกรมนอกเหนือจากนี้สามารถสอบถามทีมงานเพื่อพิจารณาได้

Q: การเข้าร่วมกิจกรรมหลังผ่านรอบคัดเลือก

A: กิจกรรมของทางโครงการที่จัดไว้มีดัง

  1. อบรมการใช้โปรแกรม Simulation ในวันที่ 6 - 7 ส.ค. ต้องมีสมาชิกมาเข้าร่วมแบบ ณ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) อย่างน้อย 1 คน โดยสมาชิกที่เหลือสามารถอบรมแบบ Online ได้
  2. ออกแบบและพัฒนาผลงานและรายงานความคืบหน้าระหว่างพัฒนาผลงาน
  3. นำเสนอผลงาน ในวันที่ 17-18 ก.ย. ณ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพระราม 9
Q: โรงงาน (Smart Factory) ใน Simulation ต้องทำให้เหมือนโรงงานจริงหรือไม่

A: ไม่จำเป็นต้องทำให้เหมือนจริง แต่ต้องแสดงให้เห็นถึงการรับวัตถุเข้าไปดำเนินการบางอย่างแล้วออกมาเป็นวัตถุใหม่ เช่น วัตถุสี่เหลี่ยมเข้าไปในกล่องสีดำแล้วออกมาเป็นวัตถุทรงกลม เป็นต้น

Q: ทำ Smart Factory ใน Simulation แบบไม่ละเอียดทุกขั้นตอนตามโรงงานจริงได้หรือไม่

A: ได้ โดยสามารถเลือกทำเฉพาะบางส่วนหรือบางกระบวนการตามโรงงานจริงได้ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขตามกติกาการแข่งขัน

Q: ต้องทำผลงานจริงที่เป็นโปรแกรมส่งหรือไม่

A: มีการส่งผลงานทั้งหมด 2 รอบคือ

  1. รอบคัดเลือกต้องส่งแนวคิดการออกแบบผลงานพร้อมภาพประกอบและ VDO นำเสนอผลงาน
  2. รอบชิงชนะเลิศผู้เข้าแข่งขันต้องทำผลงานจริงและแสดงการทำงานจริงต่อหน้ากรรมการ
Q: สามารถใช้โปรแกรมอื่นทำงานร่วมกับ Simulation ได้หรือไม่

A: ได้ เช่น อาจจะทำเป็น Web Application สำหรับรับข้อมูลการสั่งผลิตชิ้นงานจากผู้ใช้งานภายนอก เพื่อให้ Smart Factory ใน Simulation เริ่มทำงาน เป็นต้น

Q: สามารถใช้ Oculus Quest เพื่อทำส่วนของ VR สำหรับติดต่อ Smart Factory ได้หรือไม่

A: ได้ แต่ Smart Factory ต้องแสดงกระบวนการต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในกติกาการแข่งขัน

Q: ใช้ซอฟต์แวร์อื่น (อยู่ใน Cloud) เพื่อทำ Dashboard แสดงข้อมูลของ Smart Factory จากภายนอก Simulation ได้หรือไม่

A: ได้ โดยรอบชิงชนะเลิศทางทีมงานจะมีการเตรียมการเชื่อมต่อระบบ Internet ผ่านสาย Ethernet ไว้ให้

Q: API ที่ทีมงานจัดเตรียมไว้ให้เป็นอย่างไร

A: REST API

Q: API ที่ควบคุม TeleSorting System จะใช้งานได้ตอนใหนและใช้งานอย่างไร

A: ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านรอบคัดเลือกจะได้รับการอบรมการใช้งาน API และ TeleSorting System ณ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) พร้อมคู่มือการใช้งานระบบในรูปแบบ Online

Q: ตัว Smart Factory ใน Simulation ไม่ใช้งาน TeleSorting System ได้หรือไม่

A: ไม่ได้ เพราะกติการะบุให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่าง Smart Factory ใน Simulation และ TeleSorting System

Q: ต้องทำ Digital Twin ของ TeleSorting System ใน Simulation หรือไม่

A: ไม่จำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการนำเสนอผลงานของแต่ทีมว่าจะนำเสนอเรื่อง Digital Twin แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขตามกติกาการแข่งขัน

Q: ภาพ Vision ที่ได้มาจาก TeleSorting System ต้องนำมาทำ Image Processing เองหรือไม่

A: ไม่จำเป็น เนื่องจาก TeleSorting System มีการใช้ระบบ Vision ตรวจจับสีของวัตถุและส่งผลลัพธ์ผ่าน API ให้พร้อมใช้งานแล้ว

Q: ต้องใช้งานอุปกรณ์ทั้งหมดทุกตัวใน TeleSorting System หรือไม่

A: ไม่จำเป็น ขึ้นอยู่กับแผนการนำเสนอผลงานของแต่ละทีมและต้องอยู่ในเงื่อนไขตามกติกาการแข่งขัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE Offical Account


Send a Message